![](https://sp-ao.shortpixel.ai/client/to_auto,q_glossy,ret_img,w_1024,h_536/https://www.kasetshop99.com/wp-content/uploads/2022/04/Desktop_03131-1024x536.jpg)
โรคใบหงิกเหลืองของมะเขือเทศ (TYLCD) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้ใบมะเขือเทศกลายเป็นสีเหลืองนั้นถือเป็นโรคอันตรายที่สร้างความเสียหายให้กับมะเขือเทศมากที่สุด นอกจากนั้นยังสามารถขยายปัญหากระจายออกต่อไปในกว้างได้ซึ่งก่อนหน้านี้เกษตรกรหาวิธแก้หลากหลายไล่ตั้งแต่การใช้ยารวมไปถึงเลือกที่จะปลูกมะเขือเทศพันธุ์ที่สามารถต้านทานโรคใบหงิกเหลือง อย่างไรก็ตามผลที่ได้ก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกันเพราะทำให้มะเขือเทศที่ออกมามีรสจืดและไม่อาจเทียบได้กับรสชาติที่เป็นธรรมชาติของมะเขือเทศ หลังจากนั้นก็มีการหาทางแก้ไขปัญหาโรคใบเงิกเหลืองตลอดมาและดูเหมือนว่ากำลังจะได้วิธีที่มีศักยภาพจริงๆแล้ว
ทีมนักนักวิทยาศาสตร์ของสภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งสเปน (IHSM UMA-CSIC) ได้ทำการทดลองทดสอบภาคสนามเกี่ยวกับเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีจนได้สองวิธิที่สามารถควบคุมโรคใบหงิกเหลืองได้อย่างเห็นผล
![](https://sp-ao.shortpixel.ai/client/to_auto,q_glossy,ret_img,w_1024,h_512/https://www.kasetshop99.com/wp-content/uploads/2022/04/Tomato-Leaf-Curl-1600x800-1-1024x512.jpg)
ทางแรกนั้นพวกเค้าชี้ว่าการปกคลุมพืชมะเขือเทศด้วยพลาสติกที่ป้องกันรังสียูวีสามารถป้องกันและลดความเสียหายของโรคใบหงิกเหลืองได้ ส่วนอีกทางนั้นพบว่าการใช้กรดซาลิไซลิกในมะเขือเทศสามารถลดผลกระทบและการสูญเสียของโรคใบหงิกเหลืองลงได้
เหล่านักวิทย์ยังได้ชี้แนะเพิ่มเติมว่าทั้งสองวิธีจะได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้กับมะเขือเทศที่ปลูกในพื้นที่โล่งโปร่งซึ่งจะเป็นวิถีทางเลือกที่ดีในการแก้ไขปัญหาโรคใบหงิกเหลืองของมะเขือเทศ
ขอขอบคุณ : www.gurukaset.com