คุณกำลังเจอปัญหาใช่ไหม⁉
❌หนอนแมลงเข้าทำลายพืช เกิดโรค เชื้อรา ใบจุด ใบไหม้
❌ผลผลิตเสียหาย ลูกลาย ผลร่วง ต้นโทรม ใบเหลือง
❌ผลผลิตขาดช่วง คุณภาพตกต่ำ ขายไม่ได้ราคา
❌เพิ่มต้นทุนจากการใช้สารเคมี ยารักษาโรคพืช
❌สารเคมีตกค้าง ดินเสีย ดินเปรี้ยว เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
โรคพืช คืออะไร?
คือ อาการที่ผิดไปจากพืชปกติอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพืชอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุจากสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างความเสียหายให้กับกระบวนการทางสรีระของพืชโดยการเปลี่ยนแปลงให้เห็นทางคุณภาพ และปริมาณ
สาเหตุ ที่ทำให้เกิด โรคพืช‼
🚨 สิ่งไม่มีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคพืช
1⃣ ธาตอาหาร
– พืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
– พืชได้รับธาตุอาหารมากจนเป็นพิษพิษหรืออยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้
– ความไม่สมดุลของธาตุอาหาร
2⃣ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
– สภาพดินกรด ผลของสารเคมี ดินเปรี้ยว ดินแข็ง ดินเสื่อมโทรม
– สภาพความแห้งแล้งหรือน้ำขัง สภาพอากาศร้อนหรือเย็นผิดปกติ การขาดน้ำ
🚨 สิ่งมีชีวิตทำให้เกิดโรคพืช
1⃣ เชื้อรา (ราสนิม ราน้ำค้าง ราแป้ง) สาเหตุของโรค ทำให้เกิดโรคใบจุด ใบด่าง โรครากเน่าโคนเน่า โรคเหี่ยว โรคตายพรายในกล้วย โรคใบร่วงในยางพารา โรคแอนแทรคโนสในพริก(โรคกุ้งแห้ง)
2⃣ แบคทีเรีย สาเหตุของโรค แคงเกอร์ โรคใบจุดในมะเขือเทศ โรคเน่าเละในกระหล่ำ โรคเหี่ยวมะเขือเทศ ,พริก
3⃣ ไวรอยด์ สาเหตุของโรค ใบหงิกเหลืองในมะเขือเทศ โรคใบด่าง โรคจุดวงแหวน โรคใบด่างในมันสำปะหลัง โรคมะละกอ
4⃣ ไฟโตพลาสมา สาเหตุของโรค โรคเหลืองเตี้ยของข้าว โรคใบขาวของอ้อย โรคพุ่มแจ้งของลำไย โรคดอกเขียวในดาวเรือง
5⃣ ไส้เดือนฝอย สาเหตุของโรค รากปมในมันฝรั่ง โรครากแผลข้าวโพด มันเทศ ใบหม่อน โรครากกุดในมะเขือเทศ และกะหล่ำปลี
🚨มีปัญหาพืช…ปรึกษาเพียว ฟรี‼️
รู้ทันโรคพืช…กับเกษตรเพียว และผู้เชี่ยวชาญ
ผลไม้ช่อดอกร่วง❓ ช่อดำ❓ ลูกร่วง❓ แก้ยังไงดีนะ‼
พบมากในช่วง ฝนตกชุก และมีเพลี้ยไฟระบาด ทำให้เชื้อราเข้าทำลายช่อมะม่วงทำให้ช่อดำ วิธีสังเกตุที่ดอกมะม่วง เริ่มแรกจะมีสีน้ำตาลแดงและเริ่มรามเป็นสีน้ำตาลเข้ม ก้านดอกเริ่มดำและหลุดร่วง
🔰วิธีการป้องกัน
1⃣ ระวังเพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรค ถ้ามีต้องใช้สารป้องกันและกำจัดแมลง
2⃣ สวนมะม่วงต้องสะอาดไม่รก ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3⃣ ฉีดพ่นสารป้องกันช่วง มะม่วงติดดอก เพื่อป้องกันเชื้อรา
ปาล์มขาดคอ เกิดจากอะไร ? ผลผลิตขาดช่วง? ปาล์มผลฝ่อ ?
คือ อาการที่ปาล์ม ออกผลผลิตขาดช่วง ออกน้อยเกินกว่าที่จะเป็นคะซึ่งสาเหตุเกิดจาก ปาล์มได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และดินไม่ดี และอีก 1 สาเหตุ คือความเครียดจากสภาวะอากาศแปรปวน เช่น ร้อนจัด หนาวจัด น้ำท่วม ทำให้ปาล์มเครียดและหยุดการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการสร้างดอกผล
🔰วิธีการป้องกัน
1⃣ ดินต้องดี มีสารอาหารเพียงพอ
2⃣ มีจุลินทรีย์ที่ดี ดินอุ้มน้ำถ่ายเทอากาศดี
3⃣ อย่าลืมตัดแต่งใบเพื่อกระตุ้นให้ปาล์มสร้างทลาย
ปลูกพริกยังไงไม่ให้เป็น โรคกุ้งแห้ง ตัวร้ายทำลายพืช
สาเหตุที่ทำให้ พริก เป็นโรคกุ้งแห้ง ถ้าอากาศชื้น ฝนตกชุก เชื้อราจะโตได้ดี พืชจะป่วยและเป็นโรคได้ง่าย ถ้าพริกขาดแคลเซียมจะทำให้พริกอ่อนแอ ทำให้เป็นกุ้งแห้งได้ง่าย วิธีดูว่าพริกเป็นกุ้งแห้ง ที่เม็ดพริกจะมีจุดดำ ฉ่ำน้ำและจะลามทั่วเม็ดทำให้เม็ดแห้งลีบ คล้ายกับกุ้งแห้ง
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้ผิวและใบมะนาวเป็นจุดสีน้ำตาลแห้ง ตกสะเก็ด ที่ชาวสวนมะนาวเรียกกันว่าเป็นขี้กาก
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ฉีดพ่นสารป้องกันโรคพืช
2⃣ แปลงปลูกต้องสะอาดไม่มีแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3⃣ เลือกพันธ์ที่ทนต่อโรค และกิ่งพันธ์ที่นำมาใช่ต้องไม่มีโรค
มะนาวเป็นแคงเกอร์ ผลขี้กาก เกิดจากอะไร? แก้ไขได้ไหม
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้ผิวและใบมะนาวเป็นจุดสีน้ำตาลแห้ง ตกสะเก็ด ที่ชาวสวนมะนาวเรียกกันว่าเป็นขี้กาก
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ฉีดพ่นสารป้องกันโรคพืช
2⃣ แปลงปลูกต้องสะอาดไม่มีแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3⃣ เลือกพันธ์ที่ทนต่อโรค และกิ่งพันธ์ที่นำมาใช่ต้องไม่มีโรค
ข้าวเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ เมล็ดลาย ป้องกันได้จริงไหม? แก้ไขยังไงดี ?
เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะระบาดเร็วมากเพราะ เชื้อราสามารถปลิวไปตามลมได้ วิธีสังเกตุว่าข้าวเราเมล็ดด่าง พบรอยสีน้ำตาลบนเม็ดข้าว หรือพบราสีเทาดำบนเม็ดข้าว
🔰วิธีการป้องกัน
1⃣ เลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีโรคมาปลูก
2⃣ คลุกสารป้องกันเชื้อราก่อนหว่านข้าว
3⃣ หากเป็นเชื้อราพ่นสารกำจัดเชื้อรา
รับมือปัญหา “โรคแส้ดำ” ในไร่อ้อย….ป้องกันยังไงดี?
เกิดจากเชื้อรา ทำให้อ้อยที่เป็นโรคนี้ ลำต้นเล็กเป็นข้อเล็กๆ คล้ายต้นตะไคร้ วิธีสังเกตุ ว่า อ้อยเป็นโรค นี้แล้ว อ้อยจะแตกหน่อเยอะมากแต่ต้นเล็กและแคระ รูปกอเหมือนต้นตะไคร้ ปลายใบเป็นสีดำเรียวแหลม
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ เลือกพันธ์ที่ทนโรคนี้
2⃣ หากมีการระบาดให้นำไปเผาทำลาย
3⃣ ฉีดสารป้องกันเชื้อรา
(เคล็ดลับ)การป้องกันโรคใบส้ม ใบเหลือง ข้าวแตกกอน้อย
ข้าวใบส้มมากับเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เป็นพาหะของโรค วิธีสังเกตุคือ ใบข้าวจะมีสี เหลืองแซมเขียว และค่อยๆเหลืองจนสีเกือบส้ม ต้นเตี้ยแคระ ออกรวงช้า บ้างต้นไม่มีรวงเลย
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ เลือกพันธุ์ข้าวที่ เพลี้ยจักจั่นได้ดี เช่น กข1 กข3
2⃣ ดูแลนาข้าวไม่ให้รกเพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
3⃣ กำจัดแมลง เพื่อป้องกันเพลี้ยจักจั่นสีเขียวด้วยสารป้องกัน
มารู้จัก โรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง เกิดจากอะไร ป้องกันได้ไหม?
เกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายผิวมะม่วง ทำให้ผิวลาย มีจุดดำสีน้ำตาล ผลเน่า มะม่วงเสียหาย ขายไม่ได้ ซึ่งจะเป็นมาก ถ้าอากาศชื้น เพราะเชื้อราโตได้ดี
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ต้องดูแลต้นมะม่วงตัดแต่งกิ่ง ไม่ให้รกทึบ
2⃣ ที่ใต้ต้นมะม่วงไม่มีหญ้าเพราะเป็นแหล่งสะสมแมลง โรค
3⃣ ฉีดสารป้องกันเชื้อรา
วิธีรับมือ โรคใบหงิกเหลือง ในมะเขือเทศ
สาเหตุ มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ ช่วงร้อนอบอ้าว แมลงหวี่ขาวนี่ ระบาดเยอะ วิธีสังเกตุ ใบหงิกเหลือง ใบม้วน ดอกร่วง ต้นแคระ
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ป้องกันไม่ให้มีแมลงหวี่ขาว
2⃣ แปลงปลูกต้องสะอาด
3⃣ ปลูกพืชหมุนเวียนไม่ให้ดินสะสมเชื้อโรค
เตือนเกษตรกร ระวัง โรคเส้นใบเหลืองในกระเจี๊ยบเขียว
โรคเส้นใบเหลือง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยใบกระเจี๊ยบเขียวด่าง เส้นใบมีสีเหลือง ยอดเหลือง ใบและยอดม้วนงอ ต้นเตี้ยแคระแกร็น ฝักมีสีเหลือง ติดฝักน้อย และฝักไม่สมบูรณ์
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ป้องกันไม่ให้มีแมลงหวี่ขาว
2⃣ แปลงปลูกต้องสะอาด
3⃣ ปลูกพืชหมุนเวียนไม่ให้ดินสะสมเชื้อโรค
อากาศร้อน แห้งแล้ง ระวังเพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาวระบาดหนัก!
เพลี้ยเป็นพาหะที่ทำให้ถั่วฝักยาวดอกร่วงไม่ติดลูก เพราะมันจะไปดูดกินสารอาหารในดอกของถั่วฝักยาว ทำให้ต้นชะงัก ดอกไม่ติดฝัก
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ สังเกตุแปลงปลูกถ้ามีมด ให้เฝ้าระวังเพราะมดจะพาเพลี้ยมาที่แปลงปลูก
2⃣ พ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ย
3⃣ ดินที่ปลูกต้องดี มีสารอาหารเพียงพอ เพื่อให้การติดดอก ออกฝักสมบูรณ์
เฝ้าระวัง โรครากเน่า โคนเน่า ในมันสำปะหลัง เกิดจากอะไร?
โรคหัวเน่าเละ จะเกิดกับมันสำปะหลังทั้งในระยะกล้าและลงหัวแล้ว พบมากบริเวณที่ดินมีระบบระบายน้ำยาก ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วง ถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ยกร่องแปลงปลูกไม่ให้มีน้ำท่วมขัง
2⃣ แปลงต้องไม่มีแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3⃣ ฉีดสารป้องกันเชื้อราและโรคพืช
รู้ทันปัญหา!? ต้นกระท่อมใบเหลือง ต้นเล็ก โตช้า
ต้นเล็ก แคระแกร็น ใบซีดแหลม ใบเหลือง โตช้า เกิดจาก พืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้การเติบโตและสร้างใบผิดปกติคะ การให้น้ำต้องเหมาะสม เพราะกระท่อมชอบน้ำคะ ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชเครียดคะ และอย่าลืมบำรุงพืช ด้วยตัวช่วยดีๆ เพื่อให้พืชโตเร็ว แข็งแรงด้วยนะคะ
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ เติมธาตุอาหารที่พืชต้องการ
2⃣ รดน้ำสม่ำเสมอให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช
3⃣ เฝ้าระวังโรคแมลงที่จะเข้าทำลาย
โรคเหี่ยวสับปะรด (โรคเอ๋อ) …ชี้ทางออกของโรคนี้
ชาวสวนสับปะรด จะเรียกกันว่า โรคเหี่ยว หรือ โรคเอ๋อคะ วิธีสังเกตุ ใบจะอ่อนนิ่ม มีเสีเหลืองและค่อยๆลามเป็นน้ำตาลอมม่วงแดง จะเหี่ยวและตายไป ถ้าถอนออกมาดูจะเห็นว่ารากสั้นๆแตกแขนงน้อย
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ท่อนพันธ์ที่ปลูกต้องสะอาดไม่มีโรค เพลี้ย
2⃣ ฉีดสารป้องกันมดเพลี้ย
แก้ปัญหา! ต้นกะเพราใบด่างเหลือง โตช้า โรคแมลงกวน
วิธีสังเกตุ ว่ากะเพรา เรากำลังเจอปัญหา ต้นจะเล็ก โตช้า ใบด่างๆ สีเหลืองที่เส้นใบสาเหตุ คือ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอทำให้ เติบโตได้ไม่เต็มที่ และถ้ามีใบด่างสีเหลืองมี่ต้น ให้สังเกตุว่า มีแมลงหวี่ขาวไหม เพราะแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะของโรคใบด่างเหลืองนะคะ
🔰วิธีป้องกัน
1⃣ ดินต้องอุดมสมบูรณ์ ร่วยซุย อุ้มน้ำถ่ายเทอากาศดี
2⃣ ให้ฉีดสารป้องกันแมลงหวี่ขาว ที่เป็นพาหะของโรคคะ
1.ถาม: ใช้เพียวช่วยป้องกันโรคพืช ได้จริงหรอ ?
ตอบ: ใช่คะ เพียวเป็นสารอินทรีย์ที่ได้รับการยืนยันจากลูกค้าว่า ฉีดเพียวแล้ว ช่วยให้พืชเป็นโรคน้อยลงจากเดิมเกิน 80% เพราฉีดเพียวแล้ว พืชสามารถสร้างภูมิต้านทาน เสริมความแข็งแรง ทนต่อโรคระบาด และแมลงศัตรูพืชได้ดี
2.ถาม: แล้วถ้าเป็นเชื้อรา พวกโรครากเน่า โคนเน่า ใบจุด ใบใบด่าง แนะนำเพียวสูตรไหน และใช้ยังไง ?
ตอบ: พืชเป็นเชื้อรา เป็นปัญหาที่พบได้ทุกพืช ดังนั้นการป้องกันไวจะดีกว่าการแก้ไข โดยตัวช่วยในการป้องกัน แนะนำเป็น เพียว 1 หรือซุปเปอร์เพียว แต่หากเป็นโรคแล้ว แนะนำใช้เพียวเอ็กซ์ และเพียวกู๊ดพลัสในการรักษาคะ โดยฉีดพ่นทุก3-5 วันครั้ง เพื่อรักษาโรคคะ
3.ถาม: ช่วงหน้าฝน ทำให้พืชเป็นโรคได้บ่อยและรุนแรง เพราะอะไร จะดูแลยังไงดี ?
ตอบ: เพราะว่า ความชื้นในดินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคหรือเชื้อราเติบโตได้ดี หากพืชอ่อนแอจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย และความชื้นส่งผลให้การกระจายของเชื้อโรคเพิ่มมากขึ้น วิธีการดูแล ควรให้ความสำคัญกับแปลงปลูก ไม่ปล่อยให้น้ำท่วมขังและควรพ่นสารป้องกันเชื้อรา เพื่อยับยั้งการเกิดโรค
4.ถาม: วิธีสังเกตุ เมื่อพืชเป็นโรค และ ถ้ามีอาการดังกล่าวจะแก้ไขยังไงดี ?
ตอบ: วิธีสังเกตุ ไม่ยากเลยคะ ดูที่ใบ หากเดิมใบปกติเขียว หากพืชมีโรคอาการจะปรากฏให้เห็นที่ใบคะ เช่น อาการใบเหลือง ใบเหี่ยว ใบไหม้ หรือ ใบหงิกงอคะ ซึ่งการรักษา ต้องสังเกตุก่อนว่า พืชมีอาการแบบไหน แล้วรักษาให้ตรงโรคคะ แต่ถ้าดีที่สุดฉีดเพียวป้องกันไว้โรคเกิดน้อยลง และแข็งแรงขึ้นคะ
5.ถาม: ใช้เพียวฉีด เริ่มฉีดเมื่อไหร่ดี / ถ้าเลยช่วงนั้นมาแล้ว สามารถฉีดเพียวได้ไหม ?
ตอบ: เกษตรกรสามารถใช้เพียวได้ตั้งแต่เริ่มเตรียมแปลงปลูกเลยคะ จะช่วยให้ดินดี ร่วนซุย รากงอกไว ป้องกันเชื้อรา และเริ่มฉีดพ่นทางใบ เมื่อพืชได้ 15 วัน และฉีดซ้ำทุกๆเดือน **สำหรับเกษตรกรที่พึ่งเริ่มใช้เพียว สามารถนำไปฉีดพ่นได้เลย ยิ่งฉีดเร็วยิ่งเห็นผลชัดเจน
6.ถาม: ฉีดเพียวยังไง ให้ได้ผลดีที่สุด! / มีข้อควรระวังไหม ?
ตอบ: ฉีดพ่นช่วงเช้า เวลา 05.00 -09.00 น. หรือช่วงเย็น 17.00-18.00 น. นะคะ เป็นช่วงที่พืชเปิดปากใบ / คำแนะนำ *งดฉีดช่วงแดดจัด คะ
7.ถาม: เพียวฉีดแล้วเป็นอันตรายมั้ย ต้องใส่ชุดป้องกันสารเคมีรึป่าว ?
ตอบ: ผลิตภัณฑ์เพียวเป็นสารอินทรีย์ 100% ไม่มีสารเคมี ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
8.ถาม: สั่งของกี่วันได้รับสินค้า ?
ตอบ: จัดส่งเร็วใน 1-3 วันทำการค่ะ สามารถเก็บเงินปลายทางได้
9.ถาม: ถ้าอยากใช้เพียวหลายตัว แนะนำใช้ยังไง ให้เห็นผล ไวที่สุด ?
ตอบ: ลูกค้าสามารถใช้เพียว สูตรที่ลูกค้าต้องการ ได้เลย คะ เช่น หากพืชเป็นโรค แนะนำ เพียวกู๊ด คู่กับ เพียวเอ็กซ์ และเสริมด้วย เพียวผง เพื่อ ฟื้นฟูพืชไปในตัวคะ หรือ ถ้าอยากเสริมความแข็งแรงให้กับพืช แนะนำซุปเปอร์เพียว ยิ่งใช้คู่ เพียวเวิร์ค จะช่วยเพิ่มผลผลิตด้วย และ เติมสารป้องกันแมลงอย่างเพียวเอ็กซ์ไปด้วยยิ่งดีคะ
10.ถาม: หาซื้อสินค้าได้ที่ไหน ?
ตอบ: ทางลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าโดยการคลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างได้เลย